Landmark

ก่อน ออกจากอินเดียเข้าสู่ประเทศเนปาล ส่วนใหญ่ คณะผู้แสวงบุญชาวพุทธ ก็จะแวะที่วัดแห่งนี้ “วัดไทยนวราชย์ 960”
 
ทางวัดจะจัดสถานที่ต้อนรับ พร้อมทั้งมีห้องน้ำสะอาดให้ พุทธศาสนิกชนได้เข้าอย่างสะดวกสบาย และเครื่องดื่ม โดยเฉพาะของ หวาน “โรตี อารีดอย” ขึ้นชื่อว่าเป็นโรตีที่อร่อยที่สุดในอินเดีย มาต้อนรับทุกๆท่าน บางคนพูดว่าถ้า มาแสวงบุญ ไม่ได้กินโรตีที่นี่เหมือนไม่ได้มา
กุสินาราจัดเป็นพุทธสังเวชนียสถานที่สำคัญแห่งที่ 4 ใน 4 สังเวชนียสถานของชาวพุทธ เป็นสถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพานแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งอยู่ที่ตำบลมถากัวร์ อำเภอกุสินคร หรือกาเซีย หรือกาสยา (Kushinaga; Kasia; Kasaya) ในเขตจังหวัดเทวริยา (Devria; Devriya) รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย สาลวโนทยาน สถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพาน มีชื่อเรียกในท้องถิ่นว่า มาถากุนวะระกาโกฎ (Matha-Kunwar-Ka-Kot) ซึ่งแปลว่า ตำบลเจ้าชายสิ้นชีพ ปรากฏตามคัมภีร์ว่า เมืองนี้เคยเป็นที่ปรินิพพานของพระพุทธเจ้าพระนามว่าผุสสะ เป็นที่เกิดบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์หลายครั้ง เคยเป็นราชธานีนามว่ากุสาวดี ของพระเจ้ามหาสุทัสสนจักรพรรดิ์
 
ปัจจุบันกุสินารา มีอนุสรณ์สถานที่สำคัญคือสถูปใหญ่ซึ่งพระเจ้าอโศกมหาราชสร้างไว้และบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ วิหารปรินิพพานซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางปรินิพพานอยู่ภายในและมีซากศาสนสถานโบราณโดยรอบมากมาย
ครั้งหนึ่งในชีวิตที่จะมากราบไหว้บูชาสถานที่ที่พระพุทธเจ้าได้จากไป
เบบี้บุดดา(BABY BUDDHA)
พระพุทธเจ้า จุติจากดุสิตเทวโลก เสด็จปฏิสนธิในพระครรภ์พระนางสิริมหามายา อัครมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะแห่งกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ
เมื่อพระนางทรงพระครรภ์แก่ได้เสด็จกลับไปคลอดที่กรุงเทวหะ ซึ่งเป็นบ้านเกิด เมื่อเสด็จถึงลุมพินีวันซึ่งอยู่ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์และกรุงเทวหะ ในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ วันศุกร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ ก่อนพระพุทธศักราช 80 ปี ในเวลาใกล้เที่ยง พระนางก็ประสูติพระราชโอรส ณ โคนต้นสาละ ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ขวาเหนี่ยวกิ่งสาละ
เมื่อประสูติพระราชกุมารก็อยู่ในอิริยาบถยืนหันพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ เสด็จดำเนินไปเจ็ดก้าวบนดอกบัว พร้อมกับชูนิ้วชี้ขึ้นแล้วเปล่งอาสภิวาจาว่า
 
“เราเป็นผู้เลิศแห่งโลก เราเป็นผู้ประเสริฐแห่งโลก เราเป็นพี่ใหญ่แห่งโลก ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้การเกิดใหม่มิได้มี”
 
ลุมพินีวัน Lumbini Vana เนปาล
ผู้ใดระลึกถึงพระพุทธองค์ พึงจาริกไปยัง สังเวชนียสถาน ๔ ขอสักครั้งนึงในชีวิต
Boudhanath ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือ 7 กม. ของ Kathmandu และเป็นที่ตั้งของ stupas ทางพุทธศาสนาที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในโลกสร้างขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 5 นับศตวรรษ Boudhanath เป็นสถานที่สำคัญสำหรับการแสวงบุญและการทำสมาธิสำหรับชาวพุทธชาวทิเบตและชาวเนปาลในท้องถิ่น ตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าที่สำคัญระหว่างเนปาลและทิเบต นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมอีกด้วย ในปี พ.ศ. 2522 Boudha ได้กลายเป็นมรดกโลกขององค์การยูเนสโก เจดีย์ที่ยิ่งใหญ่ของ Boudhanath เป็นจุดโฟกัสของย่านนี้ ครั้งนึงต้องมากราบไห้วสักครั้ง
เป็นอีกวัดหนึ่งถ้ามาอินเดียแล้วจะต้องแวะ ณ สถานที่แห่งนี้ วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ เป็นวัดที่อยู่ในระหว่างการเดินทาง กราบสักการะพุทธสังเวชนียสถาน
 
วัดแห่งนี้ เริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 มีเนื้อที่ราว 14 ไร่ (6 เอเคอร์)
ตั้งอยู่บริเวณกุสินารา อยู่ห่างจากสาลวโนทยาน สถานที่ดับขันธปรินิพพานของพระสัมมาสัมพูทธเจ้า ประมาณ 500 เมตร
วัดแห่งนี้พร้อมต้อนรับพุทธศาสนิกชนทุกท่านที่มาแสวงบุญที่อินเดีย
ความสวยงามของวัดไทยพุทธคยา เป็นวัดแห่งแรกในประเทศอินเดียก่อสร้างมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2500 ตั้งอยู่ในเมืองพุทธคยาอยู่ห่างจากองค์เจดีย์พุทธคยาประมาณ 500 เมตรซึ่งส่วนใหญ่เป็นจุดเริ่มต้นของทัวร์แสวงบุญ สักการะพุทธสังเวชนียสถาน เป็นวัดที่คอยต้อนรับพุทธศาสนิกชนชาวไทยที่มาแสวงบุญที่ประเทศอินเดีย
พุทธคยา (Bodh Gaya) เป็นสถานที่ในรัฐพิหาร ประเทศอินเดีย ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ใต้ต้นโพธิ์ พุทธคยาได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในสถานที่แสวงบุญที่สำคัญที่สุดของชาวพุทธในโลก
เขาคิชฌกูฏ (บาลี: गिज्झकूट Gijjhakūṭa, สันสกฤต: गृद्धकूट Gṛdhrakūṭa ), หรือในอีกนามว่า ยอดนกแร้ง หรือ ยอดเขาเหยี่ยว (อังกฤษ: Holy Eagle Peakor หรือ Vulture Peak) เป็นสถานที่ประทับของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงโปรดพำนักที่สำคัญแห่งหนึ่งในกรุงราชคฤห์ ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดเหตุการณ์ที่สำคัญต่อศาสนาพุทธ กรุงราชคฤห์ตั้งอยู่ในรัฐพิหาร ประเทศอินเดีย เขาแห่งนี้ได้รับการกล่าวขานว่าเป็น ยอดเขาเหยี่ยว เนื่องด้วยเขามีลักษณะเหมือนนกพับปีก
พิธีคงคา อารตี .. ความเชื่อ พิธีกรรมและแรงศรัทธา 
พิธีกรรมที่ปฏิบัติมาแต่โบราณ อันเป็นพิธีการที่แสดงถึงความเคารพสูงสุดต่อพระแม่คงคา ในช่วงทำพิธีโดยเฉพาะช่วงค่ำจะมีผู้คนมาร่วมพิธีเป็นจำนวนมาก
พิธีนี้มีอีกชื่อเรียกคือ พิธีบูชาไฟ แต่ในพิธีไม่ได้มีเพียงแค่เปลวไฟเท่านั้น หากยังมีหลายอย่างที่ใช้ในการประกอบพิธี เช่น สังข์, ระฆัง, ธูป, ภาชนะหรือหม้อใส่น้ำ, กำยาน, ตะเกียงน้ำมันฆี, การบูร, ดอกไม้, พัดขนนกยูง และแส้หางจามรี ซึ่งทั้งหมดเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงธาตุทั้ง ๕ ในศาสนาฮินดูอันได้แก่ ดิน, น้ำ, ไฟ, ลม, และอากาศ